• 02-764-7000

โครงการธรรมชาติปลอดภัย อำเภอลานสัก อุทัยธานี

โครงการธรรมชาติปลอดภัยในผืนป่าตะวันตก อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นผืนป่าที่มีความสำคัญของประเทศไทย เพราะนอกจากจะมีความหลากหลายของระบบนิเวศ และยังคงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าพันธุ์ไม้ต่างๆมากที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใตั ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหายากอาทิ ควายป่า, วัวแดง, เสือโคร่งฯ ที่ผ่านมาถึงแม้ว่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งจะไม่มีปัญหาเรื่องชุมชนเข้าไปอยู่อาศัยหรือเข้าไปทำกินในพื้นที่ป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง แต่ตลอดแนวด้านทิศตะวันออกของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหัวยขาแข้งมีชุมชนตั้งอยู่ประชิดชายขอบจำนวน 29 ชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร และชุมชนที่เข้ามาใช้ประโยชน์เรื่องการเก็บหาของป่ เพื่อสร้างรายได้เสริมอีกจำนวน 60 ชุมชน

การที่ชุมชนในพื้นที่กันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่หัวยขาแข้ง เข้าไปพึ่งพิงการใช้ประโยชน์โดยการเข้าไปเก็บหาของป่าในพื้นที่กันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ในบางครั้งจึงเกิดการรุกล้ำเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่หัวยขาแข้งโดยตรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติทั้งพันธุ์พืช และสัตว์ป่า
โดยอาจมีการแอบแฝงเข้าไปล่าสัตว์ หรือบุกรุกถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ตลอดจนนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชุมชนในพื้นที่กันชน กับเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ดูแลปกป้องทรัพยากรธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดังนั้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลและปกป้องเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหัวยขาแข้ง เมื่อพ.ศ.2556 บริษัทเจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด ธุรกิจพืชครบวงจร จึงได้ร่วมกับมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ดำเนินโครงการธรรมชาติปลอดภัยในผืนป่าตะวันตก ในพื้นที่อำเภอแก่นมะกรูด จังหวัดอุทัยธานี จากนั้นพ.ศ.2558 จึงได้ขยับพื้นที่ดำเนินการมาที่ศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติและเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ภายใต้แนวคิดลดการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติจากผืนป่าห้วยขาแข้ง โดยการนำพืชป่าที่ชุมชนเข้าไปเก็บหามาทำผลิตกล้าพันธุ์ พร้อมๆกับจัดอบความรู้เรื่องการดูแล และแจกกล้าพันธุ์ต่าง ๆให้เกษตรกรในเขตพื้นที่กันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งนำไปปลูกไว้ที่บ้าน พื้นที่ป่าสาธารณะ และพื้นที่ป่าชุมชน เพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนหรือสร้างรายได้เสริม โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปพึ่งทรัพยากรจากผืนป่า โดยเลือกผักหวานป่าเป็นตัวนำ

ยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินการ
1.สนับสนุนการให้ความรู้ และปลูกจิตสำนึกต่อเยาวชน รวมทั้งขุมชนให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างมีความสุข
2.สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพในการปกป้องและปราบปราม
3.การฟื้นฟูปลูกปารักษาตันน้ำในพื้นที่ที่เกิดความเสียหาย เนันการคืนผืนป่า และแหล่งตันน้ำ
4.สนับสนุนการส่งเสริมให้ประชาชนได้มีแนวทางในการประกอบอาชีพและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น