ส่วนประกอบของดิน
ส่วนประกอบของดิน ดินทั่วๆไปจะมีธาตุอาหารหลักอยู่ ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมที่จำเป็นต่อพืช แต่ธาตุอาหารที่มีจะแตกต่างกัน เพราะมีวัตถุต้นกำเนิดดิน และปริมาณของส่วนประกอบของดิน ผสมกันด้วยสัดส่วนไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นผลมาจากของการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น ความแปรปรวนของอุณหภูมิ ความชื้น ลม กระแสน้ำ และการกระทำของมนุษย์ เป็นต้น
ดินในพื้นที่หนึ่งอาจเหมือนหรือแตกต่างกับดินอีกพื้นที่หนึ่งได้ ส่งผลให้ดินมีลักษณะเด่นเฉพาะตัว
ดิน คือวัตถุที่เกาะตัวกันเป็นกลุ่มก้อนรวมตัวกันเป็นชั้น ๆ ปกคลุมผิวบนของเปลือกโลก เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเอง โดยขบวนการสลายตัวของแร่ธาตุต่างๆ ผสมกับอินทรียวัตถุ เมื่อแบ่งส่วนประกอบของดินตามความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช ได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆคือ
1. อนินทรียวัตถุหรือแร่ธาตุเป็นส่วนที่เกิดจากการสลายตัวของแร่ธาตุและหินมีประมาณ 45 %
2. อินทรียวัตถุ เป็นส่วนที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของซากพืช ซากสัตว์มีประมาณ 5 %
3. อากาศเป็นช่องว่างระหว่างเม็ดดินซึ่งมีอากาศอยู่ มีประมาณ 25 %
4. น้ำ เป็นส่วนที่อยู่ในช่องว่างระหว่างก้อนดิน มีประมาณ 25 %
ธาตุอาหารในดินจะเปลี่ยนไปตามการใช้ประโยชน์ของดินและวิธีการจัดการของเกษตรกร เมื่อปลูกพืชในดินติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ดินจะขาดธาตุอาหารทำให้พืชเจริญเติบโตไม่เต็มที่ จึงจำเป็นต้องปรับปรุงบำรุงดินอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถปลูกพืชได้ดีต่อไป
งานวิจัยพันธุ์ข้าวโพดและประกันคุณภาพ CPP